Covering Disruptive Technology Powering Business in The Digital Age

image
CHO ลุยธุรกิจยานยนต์ EV เซ็นเอ็มโอยูกับบริษัท AEM ผู้ผลิตมอเตอร์ EV แบบยั่งยืน ในเวที COP26 ประเทศอังกฤษ
image
พฤศจิกายน 17, 2021 ข่าว

 

CHO ใส่เกียร์เดินหน้า! ลุยธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ตามโรดแม็พ CHO Tech Riders 2030 เซ็นเอ็มโอยูกับ AEM บริษัทผู้ผลิตมอเตอร์ EV แบบยั่งยืนชนิดไม่ใช้แม่เหล็กและแร่หายาก (Rare Earth) ของประเทศอังกฤษ ในเวที COP26 ณ ประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาใช้งานกับ E-trucks และ EV Taxi พร้อมศึกษาความเป็นไปได้สร้างฐานการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าในประเทศไทย

นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) เปิดเผยว่า จากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ “COP26” ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีประเทศสมาชิกจำนวน 197 ประเทศ โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ถือเป็นการประชุมที่สำคัญต่อการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ ยิ่งกว่าปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เพราะหากอุณหภูมิของโลกยังสูงขึ้นอย่างปัจจุบัน จะไม่มีใครสามารถหาที่อยู่อาศัยในโลกนี้ได้ ดังนั้นผู้นำของนานาประเทศที่เข้าประชุม จึงประกาศและให้คำมั่นสัญญาที่จะรักษาสิ่งแวดล้อมของโลกร่วมกันในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี ค.ศ. 2050 สำหรับประเทศไทยนั้นประกาศเป้าหมายเป็นประเทศมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065

“จากแผน CHO Tech Riders 2030 (Technology Riders) ของบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) ได้มุ่งเน้นการก้าวสู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) และในเวที COP 26 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 เวลาประมาณ 15.00 น. (เวลาในประเทศอังกฤษ) ทางบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) (CHO) ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ Advanced Electric Machines Ltd (AEM) ซึ่งเป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าที่ไม่ใช้แม่เหล็กและแร่หายาก (Rare Earth) กล่าวคือ มอเตอร์ไฟฟ้าแม่เหล็กที่ผลิตทั่วไปในปัจจุบันนั้นจำเป็นต้องใช้แร่หายาก (Rare Earth) ในกระบวนการผลิต ซึ่งได้จากการถลุงและต้องทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล หรือกล่าวได้ว่า ยานยนต์มอเตอร์ไฟฟ้าแม่เหล็ก มิใช่ผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อมของโลกที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ CHO ร่วมกับ AEM จะนำนวัตกรรมการผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าที่ไม่ใช้แม่เหล็กและแร่หายาก (Rare Earth) ซึ่งเป็นงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge) ประเทศอังกฤษ ที่ได้มีผลิตออกเป็นสินค้าเรียบร้อยแล้ว และนำมอเตอร์ชนิดดังกล่าวเข้ามาใช้กับรถไฟฟ้า E-trucks ของบริษัทฯ เพื่อผลิตป้อนให้กับลูกค้า รวมถึงใช้กับ EV Taxi ของ ASIA CAB ผู้ผลิตรถลอนดอนแท็กซี่ในนาม CABB Taxi

นอกจากนี้ใน MOU ระบุถึงการศึกษาความเป็นไปได้สร้างฐานการผลิตมอเตอร์ในประเทศไทย ซึ่งมอเตอร์ชนิดนี้ ถือได้ว่าเป็นชนิดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและชิ้นส่วนมอเตอร์ทุกชิ้นสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ (Recycle) ได้อย่างสมบูรณ์ ถือเป็นมอเตอร์เขียว (Green EV Motors) ที่สมบูรณ์แบบที่สุดในปัจจุบัน

 

(0)(0)