วันนี้ ไอบีเอ็มประกาศว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หน่วยงานผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพลังงาน ได้นำโซลูชันบริหารจัดการสินทรัพย์ที่ใช้เทคโนโลยีเอไอของไอบีเอ็ม เข้าช่วยบริหารจัดการอุปกรณ์สำคัญๆ ของโรงผลิตไฟฟ้า
โซลูชันแม็กซิโมสำหรับการบริหารจัดการสินทรัพย์ (Maximo Enterprise Asset Management) ที่ใช้เทคโนโลยีเอไอของไอบีเอ็ม และติดตั้งโดยบริษัท ทริปเปิลดอท คอนซัลติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของไอบีเอ็ม ได้ช่วยให้ กฟผ. สามารถบริหารจัดการอุปกรณ์ต่างๆ ในแบบองค์รวม ตั้งแต่กระบวนการซ่อมบำรุง การบริหารคลังอุปกรณ์ การจัดซื้อชิ้นส่วน ไปจนถึงการบริหารจัดการซัพพลายเออร์ ตัวอย่างเช่น วันนี้ กฟผ. สามารถใช้เอไอช่วยตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงเพื่อเสริมการตัดสินใจ สามารถเห็นความเคลื่อนไหวของอุปกรณ์แต่ละประเภทที่มีอยู่ในคลัง รวมถึงบริหารและกำหนดลำดับความสำคัญของงานซ่อมแซมในเชิงรุกได้ โดยสามารถบริหารจัดการสถานะของงานต่างๆ ได้อัตโนมัติทุกที่ทุกเวลา พร้อมแสดงการรายงานผลแบบเรียลไทม์ส่งตรงไปยังอุปกรณ์โมบายล์ที่ได้รับอนุญาต
ระบบรายงานที่เอื้อให้ทั้งองค์กรสามารถเข้าถึงมุมมองชุดข้อมูลเดียวกัน ช่วยให้ กฟผ. สามารถระบุได้ว่าอุปกรณ์ตัวใดที่ส่งผลอย่างมากต่อต้นทุนของคลังอุปกรณ์ สามารถวิเคราะห์และเข้าใจสต็อคอุปกรณ์ประเภทต่างๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการบริหารจัดการและควบคุมแตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนในการรักษาอุปกรณ์ที่มีอยู่ในคลังลงได้ถึงร้อยละ 30
การปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ช่วยให้ กฟผ. สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระบบปฏิบัติการ ลดต้นทุนและความซับซ้อนอันเป็นผลมาจากความซ้ำซ้อนของระบบบริหารจัดการอุปกรณ์และกระบวนการแมนวลต่างๆ ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์ใหม่ลงได้ร้อยละ 3-5 ช่วยให้ กฟผ. มีชิ้นส่วนอะไหล่สำรองพร้อมใช้ รวมถึงสามารถยืดอายุของอุปกรณ์สำคัญๆ ได้ถึงร้อยละ 5 ความสามารถของระบบในการเชื่อมต่อเข้ากับระบบจัดซื้อยังช่วยให้ กฟผ. สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้น
“การที่ระบบเสีย บำรุงรักษาช้าเกินไป หรือการหยุดทำงานอันเนื่องมาจากปัญหาด้านคุณภาพของระบบ อาจนำสู่การหยุดชะงักของระบบไฟฟ้าและพลังงานของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อชุมชน ประชาชน และธุรกิจหลายสิบล้านราย” นายนพพล พันธ์เงิน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ผลิตไฟฟ้าของกฟผ. กล่าว “กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งตั้งอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ และมีพันธกิจหลักในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งการนำเทคโนโลยีบริหารจัดการสินทรัพย์ของไอบีเอ็มมาใช้ในครั้งนี้ จะช่วยให้ กฟผ. เห็นภาพรวมของการดำเนินงานของอุปกรณ์สำคัญๆ ของโรงไฟฟ้า ช่วยให้การบริหารจัดการเป็นไปภายใต้ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูงสุด”
“ความสามารถในการสรุปรวมข้อมูลจากแผนกต่างๆ แบบเรียลไทม์ รวมถึงการดึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับระบบบริหารจัดการสินทรัพย์ต่างๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานให้กฟผ. ในหลากหลายมิติด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการลดระยะเวลาที่ระบบหยุดทำงาน การลดค่าใช้จ่ายที่ตามมาจากการสูญเสียกำลังการผลิต รวมถึงการลดความซับซ้อนจากระบบที่ซ้ำซ้อนและกระบวนการแบบแมนวลลง เพื่อที่จะสามารถเดินหน้าขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด และแบ่งปันทรัพยากรความรู้เหล่านี้ทั่วทั้งองค์กร” นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย กล่าว “ในฐานะผู้นำแอพพลิเคชันสำหรับการบริหารจัดการสินทรัพย์องค์กร ไอบีเอ็มมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเทคโนโลยีของเราเข้าช่วยขับเคลื่อนงานปฏิบัติการที่เป็นเลิศให้แก่ กฟผ. ในวันนี้”
นอกจากนี้ โมเดลข้อมูลและเวิร์คโฟลว์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเอไอ ร่วมด้วยการแบ่งปันทรัพยากร องค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญในมุมอุตสาหกรรมทั่วทั้งองค์กร ยังผลักดันให้เกิดการนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practices) นี้ไปใช้ทั่วทั้งองค์กร ช่วยให้ทั้งวิศวกรและผู้ดูแลอุปกรณ์ต่างๆ ของกฟผ. มีความเข้าใจในสถานะของอุปกรณ์สำคัญต่างๆ มากยิ่งขึ้น
Archive
- เมษายน 2022(1)
- มีนาคม 2022(39)
- กุมภาพันธ์ 2022(58)
- มกราคม 2022(56)
- ธันวาคม 2021(43)
- พฤศจิกายน 2021(61)
- ตุลาคม 2021(72)
- กันยายน 2021(65)
- สิงหาคม 2021(76)
- กรกฎาคม 2021(75)
- มิถุนายน 2021(83)
- พฤษภาคม 2021(61)
- เมษายน 2021(66)
- มีนาคม 2021(41)
- กุมภาพันธ์ 2021(44)
- มกราคม 2021(21)
- ธันวาคม 2020(13)
- พฤศจิกายน 2020(14)
- กันยายน 2020(1)
- สิงหาคม 2020(1)
- กรกฎาคม 2020(3)