Covering Disruptive Technology Powering Business in The Digital Age

image
สธ.-หัวเว่ย ลงนามพัฒนาระบบ 5G Healthcare สนับสนุนการแพทย์ทางไกล
image
กันยายน 24, 2021 ข่าว

 

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ว่าด้วย “การศึกษาและพัฒนาระบบ 5G Healthcare” โดยมีนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เข้าร่วม

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลราชวิถี ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยเสริมศักยภาพระบบการดูแลสุขภาพของไทยให้ดียิ่งขึ้น  บันทึกข้อตกลงนี้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของกระทรวงสาธารณสุขในการยกระดับโรงพยาบาลให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะในอนาคต

ทั้งนี้ ภายในงานยังมีการสาธิตการใช้งานโซลูชันดิจิทัล อาทิ โซลูชันการสื่อสารทางการแพทย์ผ่านระบบทางไกล 5G, ระบบ Home Isolation สำหรับการวินิจฉัยและการรักษาผู้ป่วยจากระยะไกล รวมถึงจำลองสถานการณ์การทำงานแบบเรียลไทม์ของรถพยาบาลระบบ 5G

นายอนุทิน กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพระบบบริการสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างมาก สามารถนำมาเพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบคิว ระบบงานบริการของโรงพยาบาล ระบบส่งต่อ และการเชื่อมโยงข้อมูลบริการสุขภาพที่เป็น Big Data  เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม

บันทึกข้อตกลงนี้ตอบสนองต่อพันธกิจของกรมการแพทย์ในการปรับปรุงบริการอย่างต่อเนื่อง และด้วยการสนับสนุนจาก Huawei เพื่อแนะนำบริการอัจฉริยะที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งจะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการโดยใช้โครงสร้างพื้นฐาน 5G , ปัญญาประดิษฐ์ (AI),  บิ๊กดาต้า และการประมวลผล edge computing

ภายใต้ข้อตกลงระยะเวลาสองปีนี้ หัวเว่ยจะจัดหาเทคโนโลยี 5G ให้กับโรงพยาบาลพันธมิตรทั้งสองแห่ง ทำให้สามารถอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ได้ทันที นอกจากนี้ยังจะให้การถ่ายทอดความรู้ด้านดิจิทัล การฝึกอบรม และการดูแลโครงการแก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย เทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในขั้นต้นสำหรับโซลูชันการแพทย์ทางไกล เช่น การตรวจติดตามและวินิจฉัยจากระยะไกล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อระหว่างแพทย์และผู้ป่วยได้อย่างมาก

นอกจากนี้ จะใช้สำหรับบริการการดูแลฉุกเฉิน เช่น การขนย้ายด้วยรถพยาบาล ซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ตำแหน่งแบบเรียลไทม์ สัญญาณชีพของผู้ป่วย และภาพวิดีโอจะถูกส่งต่อทันที ช่วยให้แพทย์กู้ภัยได้รับคำแนะนำสำหรับการดูแลฉุกเฉินที่ดีที่สุดและ ทีมโรงพยาบาลเพื่อเตรียมการรักษาหรือการผ่าตัดเมื่อเดินทางมาถึง

(0)(0)