Covering Disruptive Technology Powering Business in The Digital Age

image
IDC ได้เปิดเผยถึงการวิเคราะห์และบทบาทของ AI ในการปรับตัวทางดิจิทัล
image
มิถุนายน 28, 2021 บล็อก

 

การเชื่อมต่อกับโลกภายนอกของผู้คนในปัจจุบันนี้ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดวิกฤตไปทั่วโลกได้มากยิ่งขึ้น  โรคระบาด COVID-19 เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดถึงการปรับเปลี่ยนในรูปแบบใหม่ นั่นคือ การปรับตัวทางดิจิทัล (Digital Resiliency) ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กรในการเติบโตและรอดพ้นจากช่วงวิกฤตดังกล่าว การปรับตัวทางดิจิทัล (Digital Resiliency) คือความสามารถของบริษัทในการปรับตัวอย่างรวดเร็วต่อการดิสรัปที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยใช้ประโยชน์จากความสามารถทางดิจิทัลเพื่อฟื้นฟูการดำเนินธุรกิจและใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป

จากรายงานล่าสุดของ IDC เกี่ยวกับการปรับตัวทางดิจิทัล  (Digital Resiliency): บทบาทของข้อมูล ,การวิเคราะห์ (Analytics) ,และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ถูกสร้างขึ้นจากกรอบงานก่อนหน้านี้ และเมื่อพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงบทบาทของข้อมูล ,การวิเคราะห์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยให้องค์กรสามารถแก้ไขปัญหาที่วิกฤตและสนับสนุนการปรับตัวทางดิจิทัลในอนาคต

บริษัทส่วนใหญ่มักพึ่งพาจุดแข็งขององค์กรในด้านต่างๆ เพื่อเป็นตัวเร่งให้พ้นจากวิกฤต แต่จุดอ่อนของพวกเขาก็มักจะทำให้สถานการณ์แย่ลง ดังนั้น ข้อมูล ,การวิเคราะห์ และ ปัญญาประดิษฐ์(AI) เป็นพื้นฐานของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัลที่สำคัญสำหรับความสำเร็จในการปรับตัวทางดิจิทัล (Digital Resiliency)ในทุกๆด้านขององค์กร

เมื่อเกิดวิกฤตขึ้น ,ผู้นำต้องให้ลำดับความสำคัญของปัญหา และด้วยเหตุนี้ ความต้องการข้อมูล,การวิเคราะห์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) จำเป็นจะต้องมีขั้นตอนดังสรุปด้านล่าง:

ระยะที่ 1: การตอบสนองและการฟื้นฟู – ในขั้นตอนนี้ ความอยู่รอดคือทุกสิ่งทุกอย่าง ด้วยเหตุนี้ องค์กรต่างๆ จึงคาดหวังกับข้อมูล ,การวิเคราะห์และ ปัญญาประดิษฐ์(AI)เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็วเกี่ยวกับภัยคุกคามในมุมต่างๆ คลอบคลุมทั่วทั้งธุรกิจ และช่วยจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่สำคัญและเร่งด่วน

ระยะที่ 2: การขยายและการเพิ่มประสิทธิภาพ – การรอดพ้นจากวิกฤตไม่จำเป็นต้องมีความเสี่ยงอีกต่อไป และสามารถมีเวลามากขึ้นในการวางแผนและวิเคราะห์ ดังนั้นการจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ,การวิเคราะห์ (Analytics) และปัญญาประดิษฐ์(AI) จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งขณะนี้มีการลงทุนอย่างจำกัดในการแก้ไขเพื่อแก้ไขจุดอ่อนที่เกิดจากวิกฤต ซึ่งอาจรวมถึงการปรับปรุงการคาดการณ์ทางการเงิน การแก้ไขปัญหาด้านการปฏิบัติงาน หรือสนับสนุนการตัดสินใจของพนักงานจากระยะไกล

ระยะที่ 3: การเร่งและสร้างสรรค์ – การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ,การวิเคราะห์ (Analytics) และ ปัญญาประดิษฐ์(AI)  มีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเพื่อปรับให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจแบบใหม่ที่เกิดจากวิกฤต  การลงทุนที่มากขึ้นกลายเป็นความจำเป็นเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน  การริเริ่มสิ่งต่างๆโดยทั่วไป ได้แก่ การสร้างฐานข้อมูลลูกค้าอัจฉริยะ ,การตรวจสอบคู่ค้าภายในห่วงโซ่อุปทานอย่างชาญฉลาด และแผนการควบคุมข้อมูลขององค์กรเพื่อสนับสนุนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกระบวนการทางธุรกิจ

การปรับตัวทางดิจิทัล (Digital resiliency) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรในปัจจุบันเพื่อการอยู่รอดและเติบโตในช่วงวิกฤตในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  องค์กรต่างๆสามารถใช้รายงานแบบใหม่นี้เพื่อระบุจุดอ่อนในการปรับตัวทางดิจิทัล (Digital resiliency) และวิธีที่ข้อมูล, การวิเคราะห์ และ AI สามารถบรรเทาสิ่งเหล่านี้ได้

(0)(0)